การออกแบบโครงสร้างอาคารให้รองรับแผ่นดินไหว พื้นฐานสำคัญเพื่อความปลอดภัยในระยะยาว

"การออกแบบโครงสร้างอาคารให้รองรับแผ่นดินไหว คือรากฐานของความปลอดภัยในระยะยาว ที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สิน เมื่อภัยธรรมชาติเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว"

 

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเริ่มมีรายงานแผ่นดินไหวขนาดเล็กถึงปานกลางเกิดขึ้นรื่อย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและตะวันตก แม้จะไม่รุนแรงถึงขั้นสร้างความเสียหายขนาดใหญ่ แต่สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญกับการออกแบบอาคารให้สามารถรับแรงสั่นสะเทือนได้อย่าง มีประสิทธิภาพ (SeismicPerformance) 

การออกแบบอาคารให้ ต้านแรงแผ่นดินไหว (SeismicDesign) จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอาคารที่มีมูลค่าสูง อาคารสาธารณะ หรือโกดังให้เช่าที่ใช้เก็บสินค้าของธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งความเสียหายจากแผ่นดินไหวแม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจกระทบต่อธุรกิจได้ ด้วยเหตุนี้ การออกแบบโครงสร้างอาคารให้สามารถรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ วิศวกร และเจ้าของกิจการโกดังให้เช่าควรให้ความใส่ใจอย่างยิ่ง 

 

เหตุผลที่ต้องออกแบบอาคารให้รับมือแผ่นดินไหว 

แผ่นดินไหวสร้างแรงกระทำกับอาคารในแนวราบ (LateralForce) ซึ่งแตกต่างจากน้ำหนักทั่วไปที่กระทำใน แนวดิ่ง (GravityLoad) หากโครงสร้างไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รับมือแรงในแนวนี้ โอกาสที่จะเกิดความเสียหายตั้งแต่ระดับเล็กน้อย เช่น ผนังร้าว ไปจนถึงโครงสร้างเสียหาย ก็มีความเป็นไปได้สูง เช่นอาคารถล่ม พังเสียหาย 

การออกแบบให้รองรับแผ่นดินไหวจึงเป็นเสมือนการลงทุนเพื่อป้องกันความเสียหายในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาคารที่มีคนอยู่อาศัยหรือใช้งานต่อเนื่องแบบระยะยาว 

 

แนวทางการออกแบบตามหลักวิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering Principles) 

การออกแบบอาคารให้ทนต่อแรงแผ่นดินไหวไม่ได้อาศัยเพียงแค่การใช้วัสดุแข็งแรง แต่ต้องอิงหลักการวิเคราะห์โครงสร้าง (StructuralAnalysis) ที่ชัดเจน มีการพิจารณาหลายองค์ประกอบร่วมกัน เช่น 

1. โครงสร้างต้องออกแบบให้มีการกระจายแรงอย่างสมดุล (SymmetricalLoadDistribution) 

การวางผังโครงสร้างให้มีความสมมาตรทั้งแนวราบและแนวดิ่ง จะช่วยลดความเสี่ยงที่อาคารจะบิดตัวหรือผิดรูป เมื่อเกิดแรงสั่นสะเทือน 

2. ความต่อเนื่องขององค์ประกอบโครงสร้าง (StructuralContinuity) 

การออกแบบที่ลดจุดเปลี่ยนแปลงของโครงสร้าง เช่น การเปลี่ยนขนาดเสาหรือคานอย่างเฉียบพลัน จะช่วยให้แรงสามารถถ่ายเทได้อย่างราบรื่นตลอดทั้งระบบ หรือเพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้นคือ ลองนึกภาพว่า “แรง” ที่กระทำต่ออาคาร เช่น แรงจากแผ่นดินไหว เปรียบเหมือน “กระแสไฟฟ้า” หรือ “น้ำ” ที่ไหลไปตามทาง ถ้าเส้นทางนั้นต่อกันอย่างราบรื่น แรงก็จะไหลผ่านไปได้โดยไม่มีปัญหา 

แต่ถ้าทางเดินนั้น “สะดุด” เช่น มีการเปลี่ยนขนาดของคานหรือเสาอย่างกะทันหัน เปลี่ยนวัสดุกลางคัน หรือออกแบบให้บางส่วนไม่เชื่อมต่อกันอย่างดี ก็อาจทำให้แรงไปติดอยู่ตรงจุดนั้น แล้วเกิด “ความเสียหาย” ขึ้นได้ง่าย 

3. การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม (MaterialSelection) 

วัสดุทุกชิ้นที่ใช้ในโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็นคอนกรีต เหล็ก หรือวัสดุประกอบอื่น ๆ ควรผ่านการรับรองมาตรฐาน (Certified Materials) และมีคุณสมบัติเหมาะสมกับงานที่ต้องรองรับแรงในหลายทิศทาง เหมือนที่โกดังสุวรรณบตรใช้เป็นคอนกรีต SCG Endorsed Brand เพราะเป็นตราสัญลักษณ์ที่สะท้อนถึงคุณภาพ ความน่าเชื่อถือ และความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ได้รับการรับรอง (อ่านต่อ SCG EndorsedBrand คืออะไร?) 

4. การเชื่อมต่อของชิ้นส่วนโครงสร้าง (StructuralConnections) 

บริเวณจุดต่อระหว่างองค์ประกอบโครงสร้าง เช่น เสากับคาน หรือคานกับพื้น ควรถูกออกแบบให้สามารถรับแรงดึง (Tension), แรงเฉือน (Shear) และแรงบิด (Moment) ได้พร้อมกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดจุดอ่อนที่เป็นต้นเหตุของความเสียหาย 

5. วิเคราะห์แรงแผ่นดินไหวตามมาตรฐาน (SeismicLoadAnalysis) 

วิศวกรจะคำนวณแรงจากแผ่นดินไหวโดยอ้างอิงมาตรฐาน เช่น มยผ.1301/2553, มยผ.1302 หรือมาตรฐานสากลอย่าง ASCE 7 (American Society of CivilEngineers) และEurocodeเพื่อให้สามารถประเมินความเสี่ยงและออกแบบได้แม่นยำ 

 

อาคารแบบใดที่ควรออกแบบให้รองรับแผ่นดินไหวเป็นพิเศษ 

  • อาคารที่สูงมากกว่า 3 ชั้น (MidtoHigh-RiseBuildings) 
  • อาคารที่มีคนอยู่หรือใช้งานจำนวนมาก เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน และห้างสรรพสินค้า (Critical and Public Facilities) 
  • อาคารคลังสินค้า โรงงาน หรือโกดังเก็บของที่มีมูลค่าสูง (WarehouseswithHigh-Value Goods) 
  • อาคารในพื้นที่เสี่ยง เช่น จังหวัดทางภาคเหนือที่อยู่ใกล้แนวรอยเลื่อน (SeismicZones) 
 
 

Suwanbhut กับมาตรฐานด้านความปลอดภัยของโครงสร้าง 

สำหรับโครงการโกดังให้เช่าของ Suwanbhut เราให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเป็นอันดับแรก วิศวกรผู้ออกแบบจะประเมินความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวควบคู่กับน้ำหนักใช้งานจริง (Live Load) เพื่อออกแบบโครงสร้างให้แข็งแรง มั่นคง และรองรับแรงในทุกทิศทาง (Multi-DirectionalForceResistance) ทุกอาคารสร้างจากวัสดุที่ผ่านการรับรอง มีการตรวจสอบคุณภาพในทุกขั้นตอน และจุดเชื่อมต่อโครงสร้างถูกออกแบบอย่างละเอียด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ใช้งานสามารถดำเนินธุรกิจได้ต่อเนื่องในทุกสถานการณ์อย่างแน่นอน 

 

บทสรุป 

การออกแบบอาคารให้รับแรงแผ่นดินไหวอย่างถูกต้องไม่ใช่เพียงการตอบสนองต่อกฎระเบียบ แต่คือการสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับธุรกิจในระยะยาว Suwanbhut พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอาคารที่ทั้งปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ พร้อมรองรับทุกความต้องการของเจ้าของกิจการอย่างแท้จริง

Visitors: 47,390