การติดป้ายประกาศแบ่งระดับความเสียหายขั้นต้นของอาคารหลังแผ่นดินไหว
เมื่อเกิดแผ่นดินไหว อาคารจำนวนมากจำเป็นต้องได้รับ การตรวจสอบความเสียหาย อย่างเร่งด่วน เพื่อประเมินความปลอดภัยในการใช้งานต่อไป อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างวิศวกรโครงสร้างนั้นมีจำนวนจำกัด ทำให้การสำรวจอาคารทั้งหมดอาจล่าช้า
การติดป้ายประกาศแบ่งระดับความเสียหายขั้นต้น
โครงการ สุวรรณบุตร ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านคลังสินค้าและอาคารอุตสาหกรรมให้เช่า ขอแนะนำความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประเมินระดับความเสียหายของอาคารที่เจ้าของอาคารควรรู้ พร้อมคำแนะนำสำหรับการตรวจสอบเบื้องต้นอย่างมีประสิทธิภาพ
การแบ่งระดับความเสียหายของอาคารเบื้องต้น มีทั้งหมด 3 ระดับ
การแบ่งระดับความเสียหายขั้นต้นหลังแผ่นดินไหว ถูกกำหนดตามเกณฑ์ของกรมโยธาธิการและผังเมือง แบ่งออกเป็น 3 ระดับ และแสดงผลด้วย ป้ายประกาศสีเขียว เหลือง และแดง ดังนี้:
1. สีเขียว: “ปลอดภัยใช้งานได้ตามปกติ”
————————
หมายถึงอาคารไม่มีความเสียหาย หรือมีเพียงเล็กน้อย ไม่กระทบต่อโครงสร้างหรือระบบความปลอดภัย โดยจะต้องมีคุณสมบัติเหล่านี้ครบถ้วน:
- โครงสร้างยังคงรับแรงได้ดี (ทั้งทางดิ่งและทางข้าง)
- ไม่มีวัสดุหลุดร่วงที่ก่อให้เกิดอันตราย
- พื้นดินโดยรอบไม่มีการทรุดตัว
- ระบบน้ำทิ้งไม่เสียหายจนเป็นแหล่งเชื้อโรค
- ทางเข้าออกปลอดภัย
- ไม่มีสภาพเสี่ยงอื่นๆ
แม้จะอยู่ในระดับปลอดภัย แต่ยังควรเฝ้าระวังหากมีแผ่นดินไหวตาม (aftershock)
2. สีเหลือง: “ใช้งานได้แบบมีเงื่อนไข”
————————
กรณีนี้คืออาคารมีความเสียหายในระดับที่ต้องระวัง และจำเป็นต้องมีข้อจำกัดในการใช้งาน เช่น
- ห้ามเข้าใช้บางส่วนของอาคาร
- จำกัดการใช้งานชั่วคราว
- เจ้าของอาคารควรจัดให้มี การตรวจสอบเชิงลึก โดยวิศวกรหรือทีมผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม เพื่อประเมินอย่างละเอียดก่อนเปิดใช้งานเต็มรูปแบบ
3. สีแดง: “ห้ามใช้อาคาร อันตราย!”
————————
หมายถึงอาคารได้รับความเสียหายอย่างหนักจนไม่สามารถใช้งานได้อีก อาจเกิดอันตรายถึงชีวิตหากใช้งานต่อ โดยพิจารณาจาก:
- อาคารเอียงหรือพังถล่มบางส่วน
- โครงสร้างหลัก เช่น เสา คาน มีรอยร้าวใหญ่
- พื้นดินใต้อาคารแตกร้าวหรือทรุดตัว
- มีภัยจากภายนอก เช่น ดินถล่ม แก๊สรั่ว ไฟฟ้าขัดข้อง ถนนตัดขาด
หากตรวจพบลักษณะเหล่านี้ ต้อง ปิดอาคารทันที และห้ามบุคคลใดเข้าใช้งานเด็ดขาด
ใครสามารถตรวจสอบอาคารเบื้องต้นได้บ้าง?
การประเมินความเสียหายขั้นต้นหลังแผ่นดินไหวสามารถดำเนินการโดยบุคลากรที่มีความรู้ เช่น
- วิศวกรโยธา
- นายช่างผู้มีประสบการณ์
- ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง
แนะนำให้มีผู้สำรวจอย่างน้อย 2-3 คน เพื่อช่วยกันวิเคราะห์ข้อมูลและแลกเปลี่ยนความเห็น เพื่อให้ผลการประเมินแม่นยำที่สุด
ทำไมต้องรู้จักการประเมินความเสียหายของอาคาร?
สำหรับเจ้าของอาคารหรือโรงงาน รวมถึงผู้ประกอบการคลังสินค้า ความรู้เบื้องต้นเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถวางแผนรับมือได้ทันท่วงที ลดความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งยังสามารถประสานงานกับหน่วยงานหรือวิศวกรได้ตรงจุด
สุวรรณบุตร: ผู้ให้บริการคลังสินค้าและพื้นที่เช่า ที่ใส่ใจความปลอดภัยในทุกโครงสร้าง
ที่ บริษัท สุวรรณบุตร จำกัด เราเข้าใจถึงความสำคัญของ มาตรฐานความปลอดภัยของอาคาร โดยเฉพาะในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว เราจึงใส่ใจในการตรวจสอบโครงสร้างทั้งก่อนส่งมอบ และหลังเกิดเหตุการณ์ทางธรรมชาติ เพื่อความมั่นใจของผู้เช่าและพันธมิตรทางธุรกิจทุกท่าน อย่างละเอียดรอบครอบหมดกังวลในการดำเนินธุรกิจ
หากคุณมองหา คลังสินค้าให้เช่าในสมุทรปราการ ที่มั่นใจได้เรื่องโครงสร้างและการดูแลระยะยาว ติดต่อ โครงการสุวรรณบุตร ได้เลย!